ถอดเบื้องหลังดราม่า “ดารุมะ ซูชิ” ปิดร้านเจ้าของเชิดเงินหนี ผู้เชี่ยวชาญด้าน แฟรนไชส์ ชี้ชัด บุฟเฟ่ต์ แซลมอน 199 ขาดทุนตั้งแต่แรก งานนี้ไม่เกี่ยวกับราคา กล่องพัสดุ กล่องไปรษณีย์ วัตถุดิบ แต่เจตนาโกงตั้งแต่เริ่ม ยากที่เจ้าของจะออกมารับผิดชอบจากดราม่า บุฟเฟ่ต์ “ดารุมะ ซูชิ” ที่ปิดร้านปิดเพจกะทันหัน พร้อมกะแสข่าวลือว่าเจ้าของกิจการหอบเงินก้อนหนีไปต่างประเทศนั้น พร้อมลอยแพ พนักงาน แฟรนไชส์ และลูกค้า ให้เคว้งคว้าง และยังหาบทสรุปไม่ได้ นั้นนายสุภัค หมื่นนิกร ผู้ก่อตั้งสถาบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีซี่ส์ อินเตอร์เนชั่น แนล แฟรนไชส์ จำกัด ผู้บริหารร้านอาหารมอร์เก้น เรสเตอรอง แอนด์คาเฟ่ และไส้กรอกแบรนด์อีซี่ส์ ผู้คว่ำหวอดในธุรกิจ แฟรนไชส์มาอย่างยาวนานฉายภาพเบื้องหลัง ดราม่า ครั้งนี้อย่างน่าสนใจว่า “ดารุมะ ซูชิ ไม่ได้ตั้งใจทำธุรกิจแฟรนไชส์ตั้งแต่แรก แต่เซ็ทธุรกิจขึ้นมาเพื่อเจตนาหลอกลวงตั้งแต่เริ่ม”โดย “สุภัค” ให้เหตุผลว่า พื้นฐานธุรกิจแฟรนไชส์ “ดารุมะ ซูชิ” ไม่ได้ทำสักเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรักษามาตรฐานการบริหาร ข้อ 1 คือ Franchisor) WIN Franchisee WIN ซึ่ง“ดารุมะ ซูชิ ”เล่นเอาผลประโยชน์ไปเทไว้ที่ตัวเองทั้งหมดข้อที่ 2 “ดารุมะ ซูชิ” ไม่ได้ตั้งใจที่จะทำธุรกิจแฟรนไชส์ตั้งแต่แรก แต่ “ดารุมะ ซูชิ” ทำขึ้นมาเพื่อหวังผลหลอกลวงลูกค้า และข้อที่ 3 ก็คือการทำธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีไม่ควรทำโปรโมชั่นเยอะ บ่อย และแรงมากขนาดนี้ เพราะแคมเปญที่ “ดารุมะ ซูชิ” ปล่อยออกมาคือบุฟเฟ่ต์ 199 บาท ซึ่งเป็นแคมเปญที่แรงเกินไป แม้ว่าจะสร้างกระแสได้ แต่ในแง่ของการปฏิบัติทำได้ยากและเป็นการสร้างพฤติกรรมของลูกค้าที่ผิด เพราะแคมเปญไม่ได้ทำให้เกิด real customer ขึ้นมา และกลายเป็นลูกค้าที่ชอบโปรมากกว่าที่จะชอบแบรนด์และซื้อซ้ำ“การออกคูปองไม่ผิดแต่ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจของการสร้างแบรนด์มากกว่าที่จะอัดโปรแบบตะบี้ตะบันขนาดนี้ เพราะฉะนั้นด้วยทรงต่างๆของ 3 เหตุผลนั้นมันเลยผิดหลักการตั้งแต่แรกในทุกๆด้าน และข้อสำคัญเรื่องที่ 4 ก็คือ Franchise relationship management เรื่องของการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างFranchisor และFranchiseeไม่มี เพราะเขาเล่นปิดเพจและหายไปแทนที่จะมานั่งอธิบายและแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะฉะนั้นอันนี้เจตนาเขาชัดว่าเขาไม่ได้ตั้งใจที่จะทำธุรกิจแฟรนไชส์ แต่เขาตั้งใจที่จะเซ็ตธุรกิจขึ้นมาเพื่อหลอกเอาเงินไปเป็นก้อน”นอกจากนี้ ผู้ก่อตั้งสถาบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร ยังวิเคราะห์ต่อว่าด้วยโครงสร้างของวัตถุดิบต่อให้ปัจุบันราคาวัตถุดิบคือแซลมอนไม่ได้ขึ้นราคา ก็ไม่สามารถขายในราคา199 บาทได้ “มันเป็นแคมเปญที่ขาดทุนตั้งแต่แรกเพราะปกติแซลมอนเกรดต่ำอยู่ที่ 100 กว่าบาทต่อกิโลกรัม ส่วนแซลมอนคุณภาพที่พอกินได้ราคาอย่างถูกก็ต้องมีกิโลละ 300 กว่าบาทและด้วยคนที่เป็น target group เฉลี่ยๆ 1 คนจากสถิติจะกินประมาณ 1.5 กิโลกรัมเพราะฉะนั้นโดยต้นทุนถ้าราคาแซลมอนรับมาอย่างถูกกิโลกรัมละ 120 บาทลูกค้า 1 คนทาน 1 กิโลครึ่งทุนหมดไปแล้ว 180 บาท แต่เขาคิดราคา 199 บาทแค่ถอดVAT ก็ขาดทุนแล้ว ไหนจะค่าแรงพนักงาน ค่าเช่า เพราะฉะนั้นมันก็ขาดทุนตั้งแต่แรกอยู่แล้วงานนี้ไม่เกี่ยวกับราคาวัตถุดิบ งานนี้มันอยู่ที่เขาตั้งใจโกงตั้งแต่แรกเลยจริงๆ เพราะในแง่ธุรกิจมันเป็นไปไม่ได้เลย”แน่นอนว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นตกอยู่ที่คนที่ซื้อแฟรนไชส์และคนที่ซื้อคูปอง ซึ่งเกิดผลกระทบเสียหายในมุมกว้าง ขณะเดียวกันก็เกิดผลกระทบทางอ้อมคือทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ขาดความน่าเชื่อถือ ซึ่งจริงๆแล้วปัจุบันธุรกิจแฟรนไชส์เป็นช่วงที่มีอัตราการเติบโตที่สูงในรอบ 30 ปี เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีช่วงไหนที่มีความต้องการในเรื่องของแฟรนไชส์มากเท่าตอนนี้มาก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจล้ม ประกอบกับการระบาดของโควิดคนที่พอมีเงินทุนจะมี 2 ทางเลือกระหว่างเป็นสตาร์ทอัพเองหรือซื้อแฟรนไชส์แต่การเป็นสตาร์ทอัพ ที่ต้องสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่จะมีคู่แข่งจำนวนมาก แต่การซื้อแฟรนไชส์มีความมั่นคงมากกว่าเพราะฉะนั้น กะแสดราม่าของ“ดารุมะ ซูชิ” ทำให้ความน่าเชื่อถือของธุรกิจแฟรนไชส์น้อยลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์ ถ้ารัฐบาลออกกฎหมายในเรื่องของแฟรนไชส์ขึ้นมามันก็จะช่วยในเรื่องนี้ลงไปได้เยอะมาก แต่ปัจุบันมีเพียงคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเรื่องการป้องกันการค้าขายที่ไม่เป็นธรรมเท่านั้นซึ่งโทษยัง “เบาไปหน่อย”แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบก็สามารถเอาผิดได้ตามกฎหมายเพราะว่ามีความผิดค่อนข้างที่จะชัดเจนและเจตนาค่อนข้างที่จะชัดเจน โดยลูกค้าที่ซื้อคูปอง สามารถฟ้องร้องไปที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ในแง่ของพนักงานสามารถฟ้องร้องได้ที่กรมแรงงานและในแง่ของ Franchisee เองก็ร้องได้ที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า“โอกาสที่เจ้าของจะกลับมารับผิดชอบก็อยู่ที่จิตสำนึกของผู้ประกอบการว่าตั้งใจที่จะมายอมรับผิดหรือตั้งใจที่จะหนี ก็ต้องอยู่ที่ดุลยพินิจของเขา แต่ถ้าดูโดยเจตนาแล้วคนที่ต้องการจะสู้ปัญหาเขาจะสู้ปัญหาตั้งแต่ day 1 เขาจะไม่ปล่อยให้กลายเป็นดราม่าเยอะๆยาวๆแบบนี้จนกระทั่งเสียแบรนด์ไป เพราะฉะนั้นด้วยเจตนา “เขาไม่น่าจะมีเจตนาที่จะออกมายอมรับผิด””ทั้งนี้ดารุมะ ซูชิ เป็นกิจการร้านอาหารของบริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2559 ดำเนินธุรกิจการบริการด้านอาหารในภัตตาคาร ร้านอาหาร มีนายเมธา ชลิงสุข เป็นกรรมการบริษัท ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทปัจุบันมีสาขา 24 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ มีทั้งการลงทุนเองและระบบแฟรนไชส์ โดยระบบการประกอบการแฟรนไชส์ ราคาลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ของร้านดารุมะ ซูชิ อยู่ที่ 2,500,000 บาท มีอายุสัญญา 5 ปี โดยบริษัทดารุมะ จะเป็นผู้บริหารจัดการและเป็นคนดูแลบัญชีรายรับรายจ่ายทั้งหมดเเต่เพียงผู้เดียว และจะปันผลเป็นรายเดือนให้กับผู้ลงทุน การจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เป็นการดำเนินการโดยผู้บริหารบริษัทดารุมะ ซึ่งผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไม่มีส่วนในการบริหารจัดการที่ผ่านมาร้านมีจุดขาย คือการจำหน่ายเวาเชอร์รับประทานอาหารบุฟเฟต์ผ่านแอปพลิเคชั่น ล่าสุดได้จัดโปรโมชั่นในราคา 199 บาท โดยมีเงื่อนไขต้องซื้อ 5 ใบขึ้นไป และบัตรแต่ละใบมีอายุถึง 6 เดือน